สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง เป็น 1 ใน 22 องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี มาทางตะวันออกเฉียงเหนือ 60 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอตระการพืชผลมาทางทิศตะวันตก 7 กิโลเมตร
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีพื้นที่โดยประมาณ 90 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 56,250 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเป้า ตำบลคำเจริญ อำเภอตระการพืชผล
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนาสะไม อำเภอตระการพืชผล
ลักษณะภูมิเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลไหล่ทุ่ง มีภาพพื้นที่ ทั่วไป เป็นที่ราบสูงอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการทำนา และการเกษตรอื่นๆ
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของตำบลไหล่ทุ่ง มีลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน
- ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม
ลักษณะของดิน
สภาพทั่วไปของดิน มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ประกอบด้วยทราย 60% ดินร่วน 40% เหมาะกับการทำการเกษตร
ลักษณะของแหล่งน้ำ
พื้นที่รับผิดชอบตำบลไหล่ทุ่ง มีลำห้วย หนองน้ำ คลองบึง ไหลผ่านแบ่งเป็นสายสำคัญ ดังนี้
แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
- ห้วยข้าวสาร ตั้งอยู่ที่ บ้านเตย หมู่ 8 มีฝายคอนกรีต ขนาดสันฝายยาว 20.00 เมตร สูง 3 เมตร ความยาว อาคารตามลำน้ำประมาณ 58 เมตร ความจุ ต้นฤดูแล้ง ประมาณ 153,800 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค เสริมการเพาะปลูกฤดูแล้ง มีพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ประมาณ 750 ไร่ ประมาณ 60 ครัวเรือน
- ห้วยส้มโฮง ตั้งอยู่ที่ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 1 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 5,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 150,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 65 ไร่
- ห้วยพาก ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนกลาง หมู่9 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 3,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 90,600 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 40 ไร่
- ห้วยดวน ตั้งอยู่ที่ บ้านคำประเสริฐ หมู่ 12 ฝายคอนกรีต ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 3,500 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 105,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 38 ไร่
- ห้วยบก ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 5,500 เมตร ลึก 3.00 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 231,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลุกเฉลี่ยประมาณ 63 ไร่
- ห้วยร่องวัวตาย ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนสวาง หมู่ 4 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 4,000 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 120,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 25 ไร่
- ห้วยเต่างอย ตั้งอยู่ที่ บ้านไทยวัฒนา หมู่ 3 ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 6,700 เมตร ลึก 2.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 201,000 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 57 ไร่
- ห้วยอาราง ตั้งอยู่ที่ บ้านหม้อทอง หมู่ 6 ขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 6,500 เมตร ลึก 3.50 เมตร ความจุในการเก็บน้ำ 409,500 ลูกบาตรเมตร ใช้เพื่อปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยประมาณ 80 ไร่
แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
- หนองใหญ่ ตั้งอยู่ที่ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 13 ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 120 เมตร ลึก 4.50 เมตร ปริมาณความจุ 27,000 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 13 บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 2 บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 1
- หนองน้ำบ้านหนองแต้ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองแต้ หมู่ 5 ขนาดกว้าง 50 เมตร ยาว 100 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 17,500 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านหนองแต้ หมู่ 5
- หนองน้ำบ้านหม้อทอง ตั้งอยู่ที่ บ้านหม้อทอง หมู่ 6 ขนาดกว้าง 120 เมตร ยาว 200 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 84,000 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำ บ้านหม้อทอง หมู่ 6
- หนองทับควายบ้านไหล่ทุ่ง ตั้งอยู่ที่ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 16 ขนาดกว้าง 75 เมตร ยาว 210 เมตร ลึก 3.50 เมตรปริมาณความจุ 55,125 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืด และปลูกพืชฤดูแล้ง ประชากรที่ได้รับประโยชน ในการใช้น้ำ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 16
- หนองน้ำบ้านหนองเงินฮ้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 120 เมตร ลึก 2.00 เมตรปริมาณความจุ 16,800 ลูกบาตรเมตร ใช้ประโยชนในการอนุรักษ์พันธุสัตว์น้ำจืดและปลูกพืชฤดูแล้ง ประชากรที่ได้รับประโยชน ในการใช้น้ำ บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7
ลักษณะของไม้/ป่าไม้
ป่าไม้ในเขตพื้นที่ตำบลไหล่ทุ่ง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น แบบป่าโปร่งผสม ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่น้อย ไม่สามารถนำมาเป็นผลผลิต หรือสร้างรายได้แก่ประชาชนได้
เขตการปกครอง
เขตพื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งหมด 12 หมู่บ้าน เต็มส่วนทั้ง 12 หมู่บ้าน
เขตการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 16 หมู่บ้าน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 17 หน่วยเลือกตั้ง (เนื่องจากหมู่ที่ 7 มีประชากรหนาแน่นได้แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขตเลือกตั้งใน 1 หมู่บ้าน)
ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 8,536 คน แยกเป็น ชาย 4,325 หญิง 4,211 คน มีจำนวนหลังคาเรือน ทั้งสิ้น 2,035 หลังคาเรือน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | ครัวเรือน |
---|---|---|---|---|
1 | บ้านไหล่ทุ่ง | 327 | 307 | 174 |
2 | บ้านไหล่สูง | 534 | 534 | 241 |
3 | บ้านดอนงัว | 441 | 452 | 187 |
4 | บ้านดอนงัว | 649 | 633 | 295 |
5 | บ้านบ่อหิน | 296 | 282 | 139 |
6 | บ้านดงไม้งาม | 175 | 162 | 65 |
7 | บ้านคำข่า | 470 | 436 | 228 |
8 | บ้านม่วง | 213 | 201 | 111 |
9 | บ้านหัวคำ | 312 | 296 | 172 |
10 | บ้านม่วงงาม | 247 | 253 | 99 |
11 | บ้านบ่อหินพัฒนา | 357 | 352 | 151 |
12 | บ้านไหล่ทุ่งพัฒนา | 304 | 303 | 173 |
ที่มา : ข้อมูลจากฝ่ายทะเบียนราษฎร์ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563
การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มี โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ดังนี้
- โรงเรียนบ้านไหล่ทุ่ง
- โรงเรียนบ้านไหล่สูง
- โรงเรียนบ้านคำข่า
- โรงเรียนบ้านดอนงัว
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มี โรงเรียนมัธยมและประถมศึกษา(ขยายโอกาส) จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
- โรงเรียนบ้านบ่อหิน
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไหล่ทุ่งพัฒนา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไหล่สูง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อหินพัฒนา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนงัว
การสาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีหน่วยพยาบาล ที่ให้บริการแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไหล่ทุ่ง หมู่ที่ 12
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อหิน หมู่ที่ 5
อาญากรรม
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีสถิติการเกิดเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระดับที่ดี
การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่งได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
- ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
- รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
- ประสานการทำบัตรผู้พิการ
- ตั้งโครงการฝึกอาชีพแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- ตั้งโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ
- ตั้งโครงการสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
การคมนาคมขนส่ง
ถนนทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย - ตระการพืชผล, ถนนทางหลวงชนบท, นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสายย่อยๆ ในพื้นที่อีกหลายสาย อาทิ
- ถนนบ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 1 – บ้านป่าโมง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 13 กม. ประชากรที่ได้รับประโยชน์ ชาวบ้านตำบลไหล่ทุ่ง ตำบลนาเจริญ ตำบลป่าโมง
- ถนนบ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 16 – บ้านสี่แยก ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 4,500 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 16 - บ้านสี่แยก ตำบลนาเจริญ
- ถนนบ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 2 – บ้านหนองไฮ หมู่ 10 ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 4,500 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 2 บ้านโนนสวาง หมู่ 4 บ้านดอนกลาง หมู่ 9 บ้านหนองไฮ หมู่ 10 (ทางเชื่อมระหว่างตำบลไหล่ทุ่ง อำเภอตระการพืชผล ถึงตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง)
- ถนนบ้านไหล่ทุ่ง หมู่13 – บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7 ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 4,800 เมตร ประชากรที่ได้รับประโยชน์ บ้านไหล่ทุ่ง หมู่ 13 – บ้านหนองเงินฮ้อย หมู่ 7
ไฟฟ้า
ปัจจุบันในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน จำนวน 16 หมู่บ้าน คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาที่มีในพื้นที่คือไฟฟ้าส่องสว่างตามทางสาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด
การประปา
ปัจจุบันในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีระบบประปาหมู่บ้าน ใช้ครอบคลุมทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มีปัญหา คือ การไหลของน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในการอุปโภค บริโภค
โทรศัพท์
องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีโทรศัพท์สาธารณะในพื้นที่ จำนวน 10 แห่ง
การเกษตร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร อาทิ ทำนา สวนฟักทอง สวนพริก สวนข้าวโพด ฯลฯ เพื่อเศรษฐกิจ อาทิ ข้าว ฟักทอง พริก ข่าวโพด ปอ ไม้ผล ไม้ยืนต้น
- ปลูกข้าวนาปี พันธุ์ กข 15, กข 105
- ปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น เดือน พฤศจิกายน – มิถุนายน ของทุกปี เช่น ฟักทอง, พริก,ข้าวโพด
การบริการ
- ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง
- ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 41 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มสตรีตัดเย็บผ้าบ้านไทยวัฒนา หมู่ที่ 3 (ตัดเย็บเสื้อผ้า)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 5 (จักสาน /ทอเสื่อ/หวด)
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหม้อทอง หมู่ที่ 6 (แปรรูปข้าวกล้องงอก)
- กลุ่มแม่บ้านเพื่อการผลิต หมู่ที่ 7 (ทอผ้าแพรขิดและทอเสื่อ)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพตรี หมู่ที่ 9 (ทอผ้าห่มไหมพรม/ทอเสื่อปิกนิ๊กและสวิง)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
- กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อหนองไฮ หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพสตรี หมู่ที่ 13 (ทอผ้าซิ่น/ผ้าขาวม้า)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 16 (ผลิตทอเสื่อกก/หวด)
การศาสนา
ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง มีผู้ที่นับถือ ศาสนาพุทธ ร้อยละ 98
- วัด จำนวน. 14 แห่ง
- ที่พกสงฆ์ จำนวน 6 แห่ง
- โบสถ์ (คริสต์) จำนวน 1 แห่ง
ประเพณี
- เดือนห้า-สงกรานต์
- เดือนหก-บุญบั้งไฟ
- เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ
- เดือนสี่-บุญเผวส
- เดือนหก-บุญบั้งไฟ
- เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ
- เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา
- เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน
- เดือนสิบ-บุญข้าวสาก
- เดือนสิบเอ็ด-บุญออกพรรษา
- เดือนสิบสอง-บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น
ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ ได้แก่ การทำเครื่องจักรสาน การทอผ้าไหม ทอผ้ากาบบัว หมอพราหมณ์ ศิลปะดนตรี (หมอแคน หมอลำ)
ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง มีภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาอีสาน (ลาว)
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ได้แก่ ผ้ากาบบัว การทอผ้ากาบบัว การทอผ้าห่ม การทอเสื่อ การทำเครื่องจักสาน ประกอบด้วย
- กลุ่มสตรีตัดเย็บผ้าบ้านไทยวัฒนา หมู่ที่ 3 (ตัดเย็บเสื้อผ้า)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร หมู่ที่ 5 (จักสาน /ทอเสื่อ/หวด)
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหม้อทอง หมู่ที่ 6 (แปรรูปข้าวกล้องงอก)
- กลุ่มแม่บ้านเพื่อการผลิต หมู่ที่ 7 (ทอผ้าแพรขิดและทอเสื่อ)
- กลุ่มพัฒนาอาชีพตรี หมู่ที่ 9 (ทอผ้าห่มไหมพรม /ทอเสื่อปิกนิ๊กและสวิง)
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)
- กลุ่มแม่บ้านทอเสื่อหนองไฮ หมู่ที่ 10 (ทอเสื่อจากใบเตย)